แผนก หู คอ จมูก

ภาพรวมแผนก หู คอ จมูก

  • แผนกหู คอ จมูก โรงพยาบาลกรุงเทพระยอง บริการตรวจวินิจฉัย รักษา การให้การพยาบาล รวมถึงการป้องกัน ส่งเสริมฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายด้วยการใช้ยา การทำหัตถการ และการผ่าตัดโดยใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือพิเศษที่ทันสมัย ให้การดูแลผู้ป่วยทุกกลุ่มอายุที่เกี่ยวข้องกับโรคทางหู คอ จมูกทั่วไป
  • รวมถึงกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาการได้ยิน ด้วยทีมแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านหู คอ จมูก และบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการฝึกอบรมเพื่อดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยบริการที่อบอุ่นและเป็นกันเอง

ขอบเขตการให้บริการแผนก หู คอ จมูก

  • คลินิกภูมิแพ้ (ALLERGY CLINIC)
  • คลินิกนอนกรน (SNORING CLINIC) ยกเว้นการตรวจ Sleep Test
  • คลินิกตรวจการได้ยิน
  • คลินิกผ่าตัดทอนซิลและอดีนอยด์
  • คลินิกก้อนที่ลำคอ
  • คลินิกเวียนศีรษะ บ้านหมุน
  • การผ่าตัดโพรงจมูกด้วยกล้อง

ศักยภาพการดูแล

บริการแผนก หู คอ จมูก

  • การวินิจฉัยและรักษาโรคและความผิดปกติของหู การได้ยินและการพูด
  • การวินิจฉัยรักษาโรคและความผิดปกติในช่องปาก ลำคอ กล่องเสียง
  • การรักษาโรคทางหู จมูก และลำคอ ที่มีความผิดปกติต่างๆด้วยการผ่าตัด
  • การวินิจฉัยโรคมะเร็งในหู จมูก และลำคอ
  • การวินิจฉัยรักษาโรคภูมิแพ้ทางจมูก

อุปกรณ์และเทคโนโลยีในการรักษา

  • ชุดตรวจหู คอ จมูก (Specification of ENT Treatment unit)
  • การตรวจช่องจมูกและลำคอด้วยกล้อง (Nasal Endoscope)
  • การตรวจกล่องเสียงและหลอดลมส่วนต้นด้วยกล้อง (Fiberoptic Laryngoscope)
  • การตรวจช่องหูด้วยกล้อง (Microscope)
  • การวินิจฉัยรักษาโรคมะเร็งในหู จมูก และลำคอ
  • การวินิจฉัยรักษาโรคภูมิแพ้ (RFVTR)
  • การตรวจการได้ยิน โดยนักตรวจการได้ยิน (Audiogram)
  • ตรวจวัดการทำงานของหูชั้นกลาง (Tympanogram)

การทำผ่าตัดและหัตถการ จะเป็นเป็น 2 กรณี มีดังนี้

  • ผู้ป่วยนอก OPD CASE เป็นการตรวจรักษา การทำผ่าตัดและหัตถการเสร็จแล้วกลับบ้านได้ เช่น การตรวจโรคทั่วไป ผ่าตัดก้อนที่ใบหู การเจาะFNA  เจาะระบายหนอง ,ผ่าตัดปะแก้วหู
  • ผู้ป่วยใน IPD CASE ผู้ป่วยจะต้องนอนโรงพยาบาล เพื่อทำหัตถการในห้องผ่าตัด เช่น การผ่าตัดทอนซิล ผ่าตัดไทรอยด์ ผ่าตัดไซนัส

Service Highlights

3.1 การรักษาโรคโพรงจมูกอักเสบด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (Radiofrequency volumetric tissue reduction : RFVTR)

  • เป็นการผ่าตัดที่นิยมทำเพื่อลดอาการ คัดจมูก น้ำมูกไหล เนื่องจากโรคจมูกอักเสบเรื้อรังหรือเยื่อจมูกบวมไม่ตอบสนอง ต่อการรักษาด้วยยา
  • เกิดจากเยื่อบุจมูกไวผิดปกติ เมื่อสัมผัสกับสิ่งกระตุ้น เช่น ของฉุน ฝุ่น ควัน จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการ คัน
    จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล และเสมหะลงคอ ส่วนใหญ่
  • ข้อดี ไม่ต้องนอนพักรักษาในโรงพยาบาล ใช้เวลาประมาณ 45 นาที ฉีดยาชาเล็กน้อยที่เยื่อบุจมูก เริ่มเห็นผลภายใน 2 สัปดาห์ ตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะทางสาขาโสต ศอ นาสิก ลาลิงซ์วิทยา

3.2 การผ่าตัดต่อมทอนซิล (Tonsillectomy)

  • การผ่าตัดทอนซิล ทำโดยแพทย์เฉพาะทางหู คอ จมูก โดยทำการผ่าตัดภายใต้การดมยาสลบ พยาบาลจะมาให้ความรู้ และดูแลความสมบูรณ์ของร่างกายผู้ป่วยก่อนผ่าตัด แพทย์ผ่าตัดจะทำการ โดยแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดจะใส่เครื่องมือเข้าไปทางช่องปาก ไปยังต่อมทอนซิล การผ่าตัดแบบนี้จึงไม่มีแผลที่มองเห็นได้จากภายนอก
  • การผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 30 นาที ผู้ป่วยจำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล 1 คืน เพื่อดูอาการ หลังผ่าตัดแนะนำให้ทานอาหารอ่อน ๆ เป็นเวลา 2-3 วันแรก ในช่องคอจะพบมีรอยแผลสีขาว ๆ บริเวณต่อมทอนซิลที่ตัดออกไป ซึ่งเป็นภาวะปกติ รอยนี้จะหายไปได้เองภายในระยะเวลา 5-10 วัน ระยะฟื้นตัวประมาณ 1-2 สัปดาห์

3.3 การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ (Thyroidectomy)

  • ต่อมไทรอยด์อยู่ด้านหน้าของลำคอ มีรูปร่างคล้ายผีเสื้อ
    แยกออกเป็นสองส่วนหรือสองกลีบ แนบอยู่ทางด้านข้างของหลอดอาหาร
    ต่อมไทรอยด์ทั้งสองส่วนเชื่อมต่อกันที่คอคอดไทรอยด์ (isthmus) ต่อมไทรอยด์มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนไทรอกซีน
  • ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมระบบเผาผลาญของร่างกาย (ระบบพลังงาน)
    ในบางกรณี การที่ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ อาจทำให้ต้องตัดต่อมไทรอยด์ออกครึ่งหนึ่งหรือตัดต่อมไทรอยด์ออกทั้งหมด หัตถการนี้เรียกว่า การผ่าตัดต่อมไทรอยด์

3.4 การผ่าตัดโพรงจมูก (ENDOSCOPIC SINUS SURGERY: ESS)

  • การผ่าตัดโพรงจมูก และไซนัสด้วยกล้องเอ็นโดสโคป (Endoscopic Sinus Surgery: ESS)  คือ การผ่าตัดเพื่อรักษาโรคต่างๆในโพรงจมูกและไซนัส
    รวมทั้งยังสามารถรักษาโรคของอวัยวะใกล้เคียง
    การใช้กล้องเอ็นโดสโคปจะช่วยให้เห็นภาพได้โดยตรง และชัดเจน
  • โดยเฉพาะในบริเวณที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
    ทำให้การประเมินความรุนแรงของโรค และการวางแผนรักษาด้วยการผ่าตัดภายในโพรงจมูก และไซนัสเป็นไปได้อย่างถูกต้อง และแม่นยำมากขึ้น

ความรู้เรื่อง "โรคภูมิแพ้" 

โรคภูมิแพ้ คือโรคเกี่ยวกับอะไร

  • โรคภูมิแพ้ในไทยมีอัตราการตรวจพบมากขึ้น 3-4 เท่า เมื่อเทียบกับเมื่อ 10 ปีก่อน
  • โรคภูมิแพ้ที่พบมากที่สุดคือ โรคภูมิแพ้ของระบบทางเดินหายใจ
  • การหาสาเหตุของการแพ้  ด้วยวิธี Skin Prick Test สามารถจะช่วยให้แพทย์วางแผนรักษาต่อได้อย่างตรงจุด
  • การรักษาผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ระบบหายใจ โดยการใช้ยาแล้วอาการไม่ดีขึ้นอาจต้องเสริมภูมิด้วยการฉีดวัคซีน
  •  

อาการของโรคภูมิแพ้

  1. ระบบหายใจ มีอาการตั้งแต่น้ำมูกไหล จาม คันจมูก คัดจมูก (คนทั่วไปเรียกว่าโรคแพ้อากาศ) หรืออาจมีอาการรุนแรง เช่น ไอ แน่นหน้าอก มีอาการหอบ ซึ่งเป็นอาการของโรคหืด สาเหตุของโรคภูมิแพ้ของระบบทางเดินหายใจ ส่วนมากเกิดจากสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ
  2. ผิวหนัง เช่น ผื่นลมพิษ ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Eczema) หรือ ผื่นแพ้จากการสัมผัส สาเหตุใหญ่ของ
  3. ระบบทางเดินอาหารได้แก่ อาการปวดท้อง อาเจียน ถ่ายเป็นมูกเลือด สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการแพ้อาหาร

     เช่น หอบ ลมพิษ ช็อค หรืออาจรุนแรงจนเสียชีวิตภายหลังจากการกินอาหารบางชนิด เช่น กุ้ง ถั่วลิสง  ฯลฯ หรือภายหลังได้รับยา เช่น เพนิซิลลิน

  4. ระบบอื่นๆ(ที่มักมีอาการรุนแรง) ผู้ป่วยบางรายมีอาการแพ้มาก อาจมีอาการเกิดขึ้นในทุกระบบ

การวินิจฉัยโรคภูมิแพ้

  • แพทย์จะซักประวัติผู้ป่วยโดยละเอียด การตรวจร่างกาย ตรวจทางห้องปฏิบัติการในบางราย หรือในรายที่ต้องการทราบสาเหตุว่าแพ้อะไรอาจใช้การทดสอบผิวหนัง

การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง

  • การทดสอบผิวหนัง หรือ skin test เพื่อตรวจหาว่าผู้ป่วยแพ้สารก่อภูมิแพ้ชนิดใดบ้าง  โดยมีวิธีทดสอบ ดังนี้
  1. แพทย์หยดน้ำยาซึ่งเป็นสารสกัดลงบนท้องแขนหรือบริเวณหลังใช้เข็มสะกิดเบาๆ (วิธีนี้มักทำได้ในเด็กอายุ 2  ปีขึ้นไปที่ให้ความร่วมมือ)
  2. หลังจากสะกิด แพทย์จะอ่านผลใน 15-20 นาที และจะรู้ว่าแพ้สารอะไร

การปฏิบัติตัวก่อนการทำ Skin Test

  • คนไข้ต้องงดรับประทานยาแก้แพ้ ยานอนหลับ ก่อนการทดสอบ 1 สัปดาห์
  • หากมีการใช้ยาสเตียรอยด์ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนการทดสอบ

 

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

ตรวจคัดกรองต่อมไทรอย ปก
การรักษาโพรงจมูกอักเสบ
เนมผ่าตัดอะดีนอยทอนซิล ทอนซิล 2023 1
เนมผ่าตัดอะดีนอยทอนซิล ทอนซิล 2023

วิดิโอที่เกี่ยวข้อง

0
    0
    ตะกร้าสินค้าของคุณ
    ไม่มีสินค้าในตะกร้ากลับไปหน้าซื้อสินค้า