ศูนย์ จักษุ

- การให้บริการ
- ข้อมูลทั่วไป
- เทคโนโลยีทางการแพทย์
จักษุวิทยาเฉพาะทาง
กระจกตา (Cornea and Refractive Surgery)
- จักษุวิทยาโรคต้อหิน (Glaucoma)
- ศัลยกรรมจักษุตกแต่งและเสริมสร้าง (Occuloplastic and Recontractive Surgery)
- จักษุวิทยาจอตาและวุ้นตา (Retina and Vitreous)
ให้บริการตรวจรักษาและผ่าตัดโรคทางตาทั่วไป อาทิเช่น
- ตรวจวัดสายตาที่ผิดปกติ และประกอบแว่น
- ตรวจสุขภาพทางตาทั้งผู้ใหญ่และเด็ก ตรวจสุขภาพตาก่อนเข้า ทำงาน และตรวจสุขภาพตาเพื่อขอใบอนุญาตขับขี่
- โรคตาแห้ง ต้อลม ต้อเนื้อ เยื่อบุตาขาวอักเสบ แผลบนกระจกตา กระจกตาอักเสบ และความผิดปกติของกระจกตา
- โรคของหนังตา หนังตาตก หนังตาหย่อน หนังตาม้วน หนังตาปิดไม่สนิท ตากุ้งยิง ความผิดปกติของขนตา ความผิดปกติของท่อระบายน้ำตา และศัลยกรรมความงามของหนังตา
- โรคกล้ามเนื้อตา ตาเหล่ ตาเข และความผิดปกติของการกลอกตา
- การผ่าตัดลอกต้อเนื้อ/ ต้อกระจก
โรคและความผิดปกติที่ให้การรักษาความผิดปกติเปลือกตา
- เปลือกตาตกหย่อน
- เปลือกตาม้วนเข้าใน
- เปลือกตาม้วนออกนอ
- เปลือกตากระตุก
โรคและความผิดปกติของระบบน้ำตาและระบบท่อน้ำตา
- ท่อน้ำตาอุดตัน (ในเด็กและผู้ใหญ่)
- โรคท่อน้ำตาอักเสบ
- ภาวะตาแห้งมากและโรคเปลือกตาอักเสบเรื้อรัง
- ต่อมน้ำตาอักเสบ
- ความผิดปกติของเบ้าตา
- ตาโปนจากภาวะไทรอยด์
- เนื้องอกที่เบ้าตา
- การบาดเจ็บและอุบัติเหตุที่เบ้าตา
- ความผิดปกติอื่นๆ
- การบาดเจ็บและอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับนัยน์ตา เปลือกตา และท่อน้ำตาอย่างรุนแรง
จอตา หรือ จอประสาทตา (Retina) จอตา (Retina หรือ เรตินา ) หรือบางท่านเรียกว่าจอประสาทตา
โรคต่างๆของจอตามีอะไรบ้าง
- โรคของจอตา โรคจอตา (Retinal disease)
- เบาหวานขึ้นตา เบาหวานกินตา (Diabetic retinopathy)
- โรคจอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ (Age-related macular degeneration หรือ AMD)
- หลอดเลือดดำจอตาอุดตัน
- โรคซีอาร์วีโอ (Central retinal vein occlusion หรือ CRVO)
- พังผืดที่จอตา (Epiretinal membrane)
- โรคจอตาหลุดลอก อาร์อาร์ดี (Rhegmatogenous retinal detachment หรือ RRD)
- จอตาผิดปกติในทารกคลอดก่อนกำหนด (โรคอาร์โอพี) Retinopathy of Prematurity (ROP)
- โรคตา โรคทางตา (Eye disease)
โรคกระจกตา
- อะไรเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดกระจกตาอักเสบ
มีความผิดปกติของตา เช่น ผู้ที่มีเปลือกตา หนังตาอักเสบเรื้อรัง ตาแห้ง ขนตาเกเข้าไปในตา ตาโปน ตาหลับไม่สนิท หนังตาปิดไม่สนิทเมื่อหลับตา จากอัมพาตของเส้นประสาทสมองเส้นที่ 7 จึงเกิดการติดเชื้อได้ง่ายต่อกระจกตา
ปัจจัยสิ่งแวดล้อม เช่น ทำงานในสิ่งแวดล้อมที่สกปรก มีฝุ่นหรือที่เสี่ยงอันตรายต่อตา เช่น ทำงานในโรงงานที่เสี่ยงต่อสารพิษหรือสารเคมีเข้าตา ช่างก่อสร้างที่มีโอกาสถูกของมีคม ดิน หิน กระเด็นเข้าตา เกษตรกรถูกใบไม้ กิ่งไม้บาดตา ทิ่มตา
การใช้คอนแทคเลนส์
มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคผิดปกติ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ติดสุราเรื้อรัง ผู้มีโรคทางกายเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ผู้ได้รับยาเคมีบำบัด ผู้ทุพพลภาพ ผู้ป่วยโรคเอดส์ ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย รวมทั้งเมื่อเกิดอุบัติเหตุต่างๆที่ตาร่วมด้วย
มีการอักเสบที่ลามมาจากอวัยวะใกล้เคียง เช่น จากหนังตาอักเสบเรื้อรัง จากเยื่อตาอักเสบที่บางชนิดลามมายังกระจกตาได้
โรคกระจกตากระจกตาอักเสบมีอาการอย่างไร
ปวดตา เจ็บตา ตาแดง ตาสู้แสงไม่ได้/ตากลัวแสง น้ำตาไหลตลอดเวลา นอกจากนั้น มักจะร่วมกับมี ขี้ตา และสายตาอาจมัวลง ถ้ามีแผลใหญ่ หรือแผลอยู่ตรงกลางกระจกตา
ต้อหิน (Glaucoma)...ภัยเงียบคุกคามสายตาคุณ
ประเทศไทยยังเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของโรคตาบอดที่รักษาไม่ได้
ในประเทศที่เจริญแล้วเกือบครึ่งที่ยังไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคนี้ และในประเทศไทย
อาจมีคนที่เป็นต้อหินแต่ไม่ทราบว่าตนเองเป็นอยู่สูงถึง 90% คุณทราบได้อย่างไรว่าคุณไม่เป็นหนึ่งในนั้น
สาเหตุเกิดจาก
ขั้วประสาทตาถูกทำลาย ผู้ป่วยจะค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปอย่างช้า ๆ โดยจะเสียจากบริเวณรอบนอกก่อน หรือที่เราเรียกว่าลานสายตา เนื่องจากการผิดปกติของการมองเห็นในต้อหินเริ่มต้นจากลานสายตาจากด้านนอกเข้าหาด้านใน จึงทำให้ผู้ที่เป็นโรคนี้ในระยะแรก อาจจะไม่สังเกตเห็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้
- ใครบ้างที่เสี่ยง
ผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป - บุคคลที่มีประวัติญาติพี่น้องเป็นโรคต้อหิน
- ผู้เป็นเบาหวาน
- สายตาสั้นหรือยาวมาก ๆ
- เคยมีประวัติได้รับอุบัติเหตุ หรือเคยผ่าตัดทางตา
- เป็นโรคเรื้อรังบางอย่างทางตา เช่น ม่านตาอักเสบ
- ซื้อยาหยอดตาพวกสเตียรอยด์มาใช้เองเป็นประจำ
การป้องกันและรักษาโรคต้อหินที่ดีที่สุด คือ การตรวจตาอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง สำหรับคนที่มีความเสี่ยง เพื่อที่จะได้ทำการรักษาตั้งแต่ระยะแรก ๆ เป็นการป้องกันการตาบอดจากโรคต้อหินได้ดีที่สุด
สิ่งอำนวยความสะดวกและเทคโนโลยีทางการแพทย์ของเรา
- ห้องตรวจและเครื่องมือแพทย์
การตรวจพิเศษ เช่น
การวัดสายตา (Auto refractometer) และการวัดความดันภายในลูกตาด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ (Air-puff tonometer) - การถ่ายรูปจอประสาทตาและขั้วประสาทตา (Fundus camera)
- การตรวจวิเคราะห์ลานสายตาด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ (Automated perimetry/visual field analysis)
การใช้แสงเลเซอร์ในการรักษาโรคทางตา เช่น - การใช้แสงเลเซอร์ในการสลายถุงหุ้มเลนส์ขุ่น (YAG capsulotomy) ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดต้อกระจก
- การใช้แสงเลเซอร์เจาะรูบนม่านตาเพื่อทำทางระบายน้ำภายในลูกตา (YAG iridotomy)
- การใช้แสงเลเซอร์รักษาโรคต้อหิน (Laser trabeculoplasty)
- การใช้แสงเลเซอร์รักษาโรคทางจอประสาทตาและเบาหวานขึ้นจอตา (Pattern scan photocoagulation)
นอกจากนี้ศูนย์จักษุยังมีบริการให้คำปรึกษาและร่วมรักษาโรคทางตากับศูนย์การแพทย์อื่นในโรงพยาบาล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาและยกระดับความพึงพอใจของผู้ป่วยทุกท่านซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดที่เราตั้งไว้
สอบถามเพิ่มเติมที่
วันเวลาทำการ : เปิดบริการทุกวัน เวลา 08:00 – 20:00 น.
- 038-921-999 ต่อ 2453 , 2454
แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง
No posts found!