ศูนย์สุขภาพสตรี
- ภาพรวม
- ศักยภาพการดูแล
- Service Highlights
- คลินิกนมแม่
- Health tips
ภาพรวมศูนย์สุขภาพสตรี
สรีระของผู้หญิงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและซับซ้อน ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพระยองให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพสตรีเป็นพิเศษ จึงพร้อมให้บริการดูแลคุณสุภาพสตรีทุกวัยอย่างครบวงจร ตั้งแต่การตรวจสุขภาพ ไปจนถึงการวินิจฉัย ป้องกัน และรักษาโรคของสตรี การฝากครรภ์และการคลอด โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางและทีมพยาบาลวิชาชีพ พร้อมด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย
ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพระยองเป็นศูนย์ให้การตรวจวินิจฉัย และดูแลรักษาผู้ป่วยทางด้านสูตินรีเวช โดยมุ่งเน้นการดูแลรักษาด้วยมาตรฐานวิชาชีพในระดับสากล โดยคำนึงถึงสิทธิ และความปลอดภัยของผู้ป่วย ตลอดจนให้ได้รับความพึงพอใจสูงสุดทางศูนย์สุขภาพสตรี มุ่งเน้นในการรักษาทางด้านนรีเวชโดยการผ่าตัดผ่านกล้อง (Laparoscope) การรักษาผู้ป่วยมะเร็งในระบบอวัยวะสืบพันธุ์ การดูแลมารดาตั้งครรภ์และทารกในครรภ์แบบเชิงลึก
ปัจจุบันศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพระยองได้นำเทคโนโลยีการผ่าตัดแบบแผลเล็กสมัยใหม่ Advanced 3D Laparoscopic Surgery หรือเทคโนโลยีผ่าตัดส่องกล้อง 3 มิติ ซึ่งช่วยเพิ่มความถูกชัดเจนให้แพทย์เห็นรายละเอียดเชิงลึก สามารถกะระยะได้ตรงจุดเสมือนเข้าไปผ่าตัดอยู่ในท้องของคนไข้ ช่วยให้การผ่าตัดมีความราบรื่นและรวดเร็ว แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก ลดการบาดเจ็บ ที่สำคัญช่วยให้คนไข้ โดยเฉพาะผู้ป่วยวัยทองสามารถฟื้นตัวได้เร็ว และหมดปัญหาแผลที่หน้าท้องยาวไม่สวยงาม และบรรยากาศใหม่ของห้องผ่าตัดผ่านกล้องนรีเวช Hi-dep มีประสิทธิภาพสูงให้ภาพคมชัดมากขึ้น โอกาสในการติดเชื้อและเสียเลือดน้อยกว่า นอกจากนี้ทางศูนย์ได้จัดให้มีเครื่องอัลตราซาวนด์ 4 มิติ รุ่น Voluson E6 ที่สามารถตรวจดูลูกน้อยได้ 3 มิติ 3 มุม ช่วยให้แพทย์ได้ข้อมูลและเพิ่มประสิทธิภาพในการแปลผลชัดเจนขึ้น อีกทั้งทุกห้องตรวจมีความสะดวกสบายเป็นส่วนตัว
ศักยภาพการรักษาพยาบาล
- ดูแลการฝากครรภ์ ตรวจวิเคราะห์เกี่ยวกับพันธุกรรมเพื่อหาโรคและความผิดปกติของทารก ดูแลรักษาการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมารดาและทารกในครรภ์ (maternal fetal medicine) และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทารกแรกเกิด (neonatologist)
- อัลตร้าซาวนด์ การตรวจดูเพื่อหาความผิดปกติของทารก ตลอดจนการติดตามดูการเจริญเติบโตของทารก อย่างน้อยผู้มาฝากครรภ์ควรจะได้ทำการตรวจด้วยการตรวจคลื่นเสียง 1-2 ครั้ง และอาจพิจารณาตรวจคลื่นเสียงความถี่ 4 มิติ เพื่อดูรูปร่างหน้าตาทารกในครรภ์ระยะ 30-32 สัปดาห์
- ให้บริการคลอดบุตรโดยสูติแพทย์ และดูแลทารกแรกเกิดโดยกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- ให้คำปรึกษาเรื่องการคุมกำเนิดที่เหมาะสมโดยวิธีต่างๆ เช่น รับประทานยา ฉีดยาใส่ห่วง ยาฝังคุมกำเนิด และทำหมัน
- คัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธีพิเศษ ตรวจหา HPV virus และบริการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV (ชนิด 4 สายพันธุ์และ 9 สายพันธุ์)
- ให้การรักษาผู้ที่มีปัญหาทางนรีเวชด้วยการผ่าตัดส่องกล้อง Laparoscopic
- ตรวจผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของปากมดลูก โดยวิธี colposcopy
- ตรวจอัลตราซาวนด์ เพื่อวินิจฉัยโรคและความผิดปกติของอวัยวะภายในสตรี
การดูแลและให้คำปรึกษาสตรีวัยหมดประจำเดือน
- วัยหมดประจำเดือน คือ ช่วงชีวิตของสตรีที่รังไข่ค่อยๆ หยุดทำงานในด้านการเจริญพันธุ์ ระดับฮอร์โมนเพศจะค่อยๆ ลดต่ำลง เมื่ออายุย่างเข้า 40 ตอนปลาย จะทำให้เกิดอาการต่างๆ กับร่างกายเช่นหงุดหงิด นอนไม่หลับ อารมณ์แปรปรวน เป็นต้น ควรได้รับการปรึกษาดูแลจากแพทย์เพื่อพิจารณาให้การรักษาอย่างถูกต้อง รวมทั้งการตรวจหาความหนาแน่นของมวลกระดูก และความเสี่ยงมะเร็งเต้านม
สูตินรีเวช – เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์(ปริกำเนิด)
- ให้บริการด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์(ปริกำเนิด) วินิจฉัยและรักษาความผิดปกติของมารดาและทารกในครรภ์ ให้คำปรึกษาทางพันธุกรรม ตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ที่ผิดปกติก่อนคลอด
- โดยให้การดูแลรักษาและให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดจากสูติแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ (maternal fetal medicine ) ร่วมกับกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด (neonatologist) ตั้งแต่ก่อนคลอดจนถึงหลังคลอด
การดูแลมารดาภาวะครรภ์เสี่ยง (High Risk Pregnancy)
- สูติแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ ให้การดูแลมารดาที่มีภาวะครรภ์เสี่ยงแทรกซ้อนทางอายุรกรรม เช่น ความดันโลหิตสูง โรคไต ครรภ์เป็นพิษ โรคเบาหวาน โรคหัวใจมารดา มีประวัติเคยคลอดบุตรก่อนกำหนด มีประวัติเคยคลอดบุตรน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ และภาวะเสี่ยงอื่นๆ โดยร่วมกับกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิดที่พร้อมให้คำปรึกษา,อายุรแพทย์สาขาต่างๆ
การผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช
การผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช (Gynecologic Laparoscopic Surgery) เป็นการผ่าตัดโดยการสอดกล้องผ่านเข้าไปในช่องท้อง หมดปัญหาหน้าท้องมีแผลยาวไม่สวยงาม เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคนรีเวชในอุ้งเชิงกราน ทั้งของมดลูก ปีกมดลูก และรังไข่ เป็นต้น
- ถุงน้ำในรังไข่ หรือเนื้องอกบางชนิดในรังไข่
- เนื้องอกมดลูก
- เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
- ปวดท้องน้อยเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ
- มีพังผืดในอุ้งเชิงกราน
- ภาวะมีบุตรยาก
การฉีดน้ำเชื้ออสุจิเข้าโพรงมดลูก (IUI)
- การฉีดน้ำเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูกIUI คือ การนำเชื้ออสุจิ ที่ได้รับการปั่นคัดเลือกตัวที่แข็งแรง ฉีดเข้าไปในโพรงมดลูกโดยตรง โดยใช้ท่อพลาสติกขนาดเล็ก ๆ สอดผ่านปากมดลูก แล้วฉีดเชื้อ ในช่วงเดียวกันกับการตกไข่
- ช่วยให้ตัวอสุจิว่ายขึ้นไป ที่ท่อนำไข่ และผสมกับไข่ง่ายขึ้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นวิธีที่เพิ่มอัตราการความสำเร็จของการตั้งครรภ์จะมากกว่าวิธีธรรมชาติ
มหัศจรรย์น้ำนมแม่…ส่งต่อสารอาหารสู่ลูกน้อย
น้ำนมแม่เป็นอาหารที่มีประโยชน์และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง นับเป็นแหล่งอาหารที่สมบูรณ์ที่สุดสำหรับทารก องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้คุณแม่ควรให้นมบุตรอย่างน้อย 6 เดือนและสามารถให้ต่อเนื่องได้ถึง 2 ปี เพราะนมแม่ประกอบไปด้วยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพหลายชนิด เช่น แอนติบอดีและโปรตีนต่าง ๆ ที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน สารต่อต้านอนุมูลอิสระ และวิตามินให้กับทารก
นอกจากนี้ยังมีเซลล์ที่มีชีวิตต่าง ๆ ทั้งเซลล์จากแม่ รวมทั้งแบคทีเรียที่ดีต่อระบบทางเดินอาหารของทารกอีกด้วย หากลูกน้อยได้รับนมแม่อย่างเหมาะสมจะช่วยป้องกันการติดเชื้อและลดโอกาสในการเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน ฯลฯ เมื่อเติบโตขึ้นได้
นมแม่ คุณประโยชน์ที่สำคัญต่อลูก
- มีสารอาหารครบถ้วน
- สร้างภูมิต้านทานโรค
- สะอาด ย่อยง่าย ถ่ายสะดวก ท้องไม่ผูก
- ช่วยให้สมองดี สติปัญญาเฉลียวฉลาด
- เสริมสร้างความรักความอบอุ่น ผูกพันทางใจ
คลินิกนมแม่
- ดูแลทุกมิติเพื่อความสำเร็จในการให้นมแม่ด้วยความพร้อมและประสบการณ์ของทีมแพทย์ ประกอบด้วย ทีมสูติ-นรีแพทย์ พยาบาลนมแม่ กุมารเวชศาสตร์ กุมารเวชศาสตร์สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด นักโภชนาการ นักกายภาพ ที่พร้อมให้คำแนะนำ รับฟัง ใส่ใจทุกรายละเอียด และช่วยแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที ช่วยให้คุณแม่ให้นมลูกน้อยได้สำเร็จและสมบูรณ์
ก่อนคลอด
- อายุครรภ์ 3 – 5 เดือน เข้ารับการอบรมครรภ์คุณภาพ (ครรภ์อ่อน) จากสูติ-นรีแพทย์ นักโภชนาการ นักกายภาพ และพยาบาลนมแม่ ซึ่งจะให้ความรู้เกี่ยวกับคุณประโยชน์ของนมแม่ อาหารเพิ่มน้ำนม และอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
- อายุครรภ์ 6 – 8 เดือน เข้ารับการอบรมครรภ์คุณภาพ (ครรภ์แก่) จากจากสูติ-นรีแพทย์ นักโภชนาการ นักกายภาพ และพยาบาลนมแม่ รวมทั้งการออกกำลังกายสำหรับคุณแม่ เป็นต้น
คลอดและหลังคลอด
- พยาบาลนมแม่จะเข้าพบเพื่อเตรียมความพร้อมให้นม โดยต้องเน้นให้ลูกดูดนมบ่อย ๆ ทุก ๆ 2 ชั่วโมง เพื่อกระตุ้นให้น้ำนมแม่มาเร็วขึ้นและเพียงพอต่อความต้องการของลูกน้อย
- พยาบาลทารกแรกเกิด (Nursery) ฝึกสอนท่าอุ้มลูกที่ถูกต้องให้กับคุณแม่และฝึกสอนการเอาลูกเข้าเต้าได้อย่างราบรื่น
- ในกรณีที่คุณแม่ยังไม่มีน้ำนม การใช้นมผสมเสริมด้วยขวดนมอาจเป็นอุปสรรค์ในการทำให้การให้นมแม่ไม่สำเร็จ พยาบาลจะฝึกให้คุณแม่ใช้ช้อนหรือแก้วแทนการใช้นมผสมจากขวด เพื่อไม่ให้ลูกติดขวด และคุณแม่ประสบความสำเร็จในการให้นมแม่เมื่อทำครบทุกขั้นตอน พยาบาลจะมีการเข้าเยี่ยมสม่ำเสมอเพื่อให้คำแนะนำเพิ่มเติม
- มีสารพันปัญหามากมายที่ทำให้คุณแม่กังวลในการให้นมบุตร อาทิ คัดเต้านม น้ำนมไม่ออก หัวนมอุดตัน คัดตึง จนทำให้เป็นไข้ หรือลูกไม่ยอมเข้าเต้า ทุกปัญหาจะหมดไปด้วยการรักษาและให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดเสมือนอยู่กับคุณแม่ตลอดเวลาเพื่อช่วยสร้างความมั่นใจให้คุณแม่ในการรับมือกับลูกน้อย
มะเร็งปากมดลูก โรคที่ผู้หญิงต้องระวัง
- ผู้หญิงไทยป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูก เฉลี่ยปีละ 6,000 ราย ความร้ายกาจของโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า เอชพีวี (Human Papilloma Virus; HPV)
- ซึ่งสามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์ แต่สิ่งที่ทำให้โรคนี้น่ากลัวที่สุดก็คือ การไม่รู้ตัวว่าได้รับเชื้อ HPV เข้าไปในบริเวณปากมดลูกเรียบร้อยแล้ว เพราะในบางรายเชื้อ HPV จะใช้เวลาถึง 10 ปีในการก่อตัวเป็นมะเร็ง
ความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก
ความเสี่ยงอื่น ๆ ที่ส่งผลให้คุณผู้หญิงที่ไม่ว่าจะเป็นสาวน้อยหรือสาวใหญ่มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก ได้แก่
- มีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อย
- มีคู่นอนหลายคนหรือมีเพศสัมพันธ์กับชายที่มีคู่นอนหลายคน
- รับประทานยาคุมกำเนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน (ถ้านานกว่า 5 ปีจะมีความเสี่ยงสูง)
- มีจำนวนการตั้งครรภ์และการคลอดลูกมากกว่า 4 ครั้ง
- มีประวัติการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส หนองใน เริม เป็นต้น
- สูบบุหรี่
- ขาดการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
- ขาดสารอาหารบางชนิด โดยฉพาะผู้หญิงที่รับประทานผักและผลไม้น้อย มีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกสูงกว่าคนที่รับประทานผักและผลไม้มาก
ดูแลป้องกันมะเร็งปากมดลูก
- กลุ่มอายุ 9 – 26 ปีที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ สามารถป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัส HPV ได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก และช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์ปากมดลูกเกิดความผิดปกติจนในที่สุดเปลี่ยนเป็นเซลล์มะเร็ง
- กลุ่มอายุน้อยกว่า 30 ปี ควรเริ่มตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก หลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกภายใน 3 ปี หรือเริ่มตรวจเมื่ออายุครบ 21 ปี และควรทำการตรวจคัดกรองเป็นประจำทุกปีจนถึงอายุ 30 ปี
- กลุ่มอายุมากกว่า 30 ปี ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีการต่อไปนี้
วิธีที่ 1 : การตรวจทางเซลล์วิทยา (Pap Test) เพียงอย่างเดียว ถ้าได้รับผลการตรวจคัดกรองทุกปีเป็นปกติติดต่อกัน 3 ปี หรือมากกว่า สามารถเว้นระยะการตรวจคัดกรองเป็นทุก ๆ 2 – 3 ปีได้
วิธีที่ 2 : การตรวจทางเซลล์วิทยา (Pap Test) ร่วมกับการตรวจหาเซลล์ผิดปกติ ตรวจหาไวรัสเอชพีวี (HPV DNA Test) ถ้าผลการตรวจคัดกรองทั้งสองปกติ สามารถรับการตรวจทุก ๆ 3 ปีได้ แต่หากพบความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่ง จำเป็นต้องได้รับการตรวจเพิ่มเติมตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
วิธีที่ 3 : ลิควิเพร็พ (Liqui Prep) เป็นเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งเป็นการปรับปรุงในการทำ PAP Smear จากวิธีการเดิมในการตรวจคัดกรองหาเซลล์มะเร็งปากมดลูก
วิธีที่ 4 : การส่องกล้องตรวจความผิดปกติของปากมดลูก เรียกว่า คอลโปสโคปี (Colposcopy) เมื่อมีผลตรวจแปปสเมียร์ผิดปกติ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
วันเวลาทำการ : เปิดบริการทุกวัน เวลา 08:00 – 20:00 น.
- 038-921-941
แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

FAQ คำถามที่พบบ่อย
รายละเอียดแพ็กเกจคลอดลูกราคาปีนี้และปีหน้า มีอะไรบ้าง?
สำหรับแพ็กเกจคลอดมีทั้งหมด 5 แพ็กเกจ ดังนี้
- คลอดธรรมชาติ
- ผ่าตัดคลอด
- ผ่าตัดคลอด+ทำหมัน
- ผ่าตัดคลอด+ผ่าตัดไส้ติ่ง
- ผ่าตัดคลอด+ทำหมัน+ผ่าตัดไส้ติ่ง
สอบถามและปรึกษาได้ที่ศูนย์สุขภาพสตรี โทร. 038 921 941
วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก HPV แต่ละเข็มต้องเว้นห่างกันกี่เดือน?
ถ้าฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก เข็มแรกก่อนอายุ 15 ปี ฉีดเพียง 2 เข็ม ห่างกัน 6 – 12 เดือน ถ้าฉีดเข็มแรกหลังอายุ 15 ปีเป็นต้นไป ฉีด 3 เข็ม ฉีดเป็น 0, 2, 6 หรือ 0, 1, 6
ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแตกต่างกับอัลตราซาวด์มดลูกและรังไข่อย่างไร
- การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจะเป็นการตรวจหาความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก
- การตรวจแบบอัลตราซาวด์มดลูก และรังไข่จะเป็นการตรวจหาความผิดปกติมดลูกและรังไข่ สำหรับผู้ที่มีประจำเดือนมาผิดปกติ ปวดท้องมดลูก หรือสงสัยว่าเป็นซีส และมีก้อนในมดลูก
หลังฉีดวัคซีนแล้วจำเป็นต้องตรวจหามะเร็งปากมดลูก (pap smear) อีกหรือไม่
- สำหรับคนที่ได้รับวัคซีน HPV โดยปัจจุบันยังคงแนะนำให้ปฏิบัติตามแนวทางตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตามปกติ