ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
- ภาพรวม
- ศักยภาพการดูแล
- Service Highlights
- Health Tips
ภาพรวม
อาการป่วยจากโรคบางโรค ทำให้เกิดความบกพร่อง ความพิการทางร่างกาย และยังส่งผลให้มีปัญหาในการสื่อสารกับผู้อื่น ทำให้รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ความรุนแรงของอาการปวดในแต่ละคนยังทำให้ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ได้ตามปกติ
ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลกรุงเทพระยอง
ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลกรุงเทพระยอง พร้อมให้บริการการดูแลรักษาและวางแผนการรักษาโดยแพทย์ผู้ชำนาญการ นักกายบำบัด นักกิจกรรมบำบัด ให้การฟื้นฟูบำบัดด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพที่ครบถ้วนตามมาตรฐานสากล เพื่อให้การบำบัด บรรเทาความรุนแรงของโรคและกลุ่มอาการให้ผู้ป่วย ดังนี้
- การบำบัดด้วยการดึงหลัง ดึงคอ ด้วยเครื่องมือทางไฟฟ้า
- การบำบัดด้วยความร้อนประเภทต่าง ๆ เช่น การวางแผ่นประคบ การอบร้อนมือด้วยขี้ผึ้งพาราฟิน เครื่องมือให้ความร้อนลึกด้วยคลื่นเสียง (Ultrasound) หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Short Wave Diathermy)
- เครื่องลดปวดด้วยเลเซอร์ ( High Laser Therapy )
- การฟื้นฟูอาการปวดคอ ปวดหลัง
- การบำบัดด้วยการกระตุ้นไฟฟ้าลดปวด เช่น TENS ( Transcutaneous nerve stimulation ) , IF (Interferential therapy) เป็นต้น
- การฟื้นฟูสมรรถภาพโรคหัวใจและหลอดเลือด
- กายภาพบำบัดและ กิจกรรมบำบัดผู้ป่วยที่มีอาการ Stroke
- กิจกรรมบำบัดในเด็ก
- การนวดเพื่อรักษาเป็นการนวดเพื่อลดจุดกดเจ็บของร่างกาย
- กิจกรรมบำบัด ฝึกการทำงานของมือ นิ้วมือ ไหล่ การทำเครื่องพยุงข้อมือ การฝึกกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน
- แก้ไขความผิดปกติการพูด การกลืน
- กายภาพบำบัดด้านการฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีปัญหาด้วยเครื่องออกกำลังกายขาและแขนแบบ Passive และ Active
- การบำบัดรักษาผู้ป่วยเด็กระบบทางเดินหายใจ โดยเราได้มีศูนย์โรคระบบทางเดินหายใจเด็ก ที่มีห้องฆ่าเชื้อ มีระบบระบายอากาศที่ดี และเครื่องมือที่ทันสมัย
ศักยภาพการดูแล ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
- การบำบัดด้วยการดึงหลัง ดึงคอ ด้วยเครื่องมือทางไฟฟ้า
- การบำบัดด้วยความร้อนประเภทต่าง ๆ เช่น การวางแผ่นประคบ การอบร้อนมือด้วยขี้ผึ้งพาราฟิน เครื่องมือให้ความร้อนลึกด้วยคลื่นเสียง (Ultrasound) หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Short Wave Diathermy)
- เครื่องลดปวดด้วยเลเซอร์ ( High Laser Therapy )
- การฟื้นฟูอาการปวดคอ ปวดหลัง
- การบำบัดด้วยการกระตุ้นไฟฟ้าลดปวด เช่น TENS ( Transcutaneous nerve stimulation ) , IF (Interferential therapy) เป็นต้น
- การฟื้นฟูสมรรถภาพโรคหัวใจและหลอดเลือด
- กายภาพบำบัดและ กิจกรรมบำบัดผู้ป่วยที่มีอาการ Stroke
- กิจกรรมบำบัดในเด็ก
- การนวดเพื่อรักษาเป็นการนวดเพื่อลดจุดกดเจ็บของร่างกาย
- กิจกรรมบำบัด ฝึกการทำงานของมือ นิ้วมือ ไหล่ การทำเครื่องพยุงข้อมือ การฝึกกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน
- แก้ไขความผิดปกติการพูด การกลืน
- กายภาพบำบัดด้านการฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีปัญหาด้วยเครื่องออกกำลังกายขาและแขนแบบ Passive และ Active
- การบำบัดรักษาผู้ป่วยเด็กระบบทางเดินหายใจ โดยเราได้มีศูนย์โรคระบบทางเดินหายใจเด็ก ที่มีห้องฆ่าเชื้อ มีระบบระบายอากาศที่ดี และเครื่องมือที่ทันสมัย
การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง
- การออกกำลังกายมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีปัญหาในการเริ่มต้นการออกกำลังกาย เช่น กลัวว่าออกกำลังกายแล้วจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย รู้สึกอ่อนเพลียง่ายจึงไม่อยากออกกำลังกาย หรืออยากออกกำลังกายแต่ไม่ทราบว่าควรเริ่มต้นอย่างไรดี
คำแนะนำจาก American Cancer Society (ACS) เกี่ยวกับการออกกำลังกายในผู้ป่วยมะเร็ง มีดังนี้
- พยายามอย่าอยู่เฉยๆ กลับมาใช้ชีวิตให้ใกล้เคียงปกติให้เร็วที่สุด หลังจากการวินิจฉัยและการรักษามะเร็ง
- พยายามออกกำลังกายสม่ำเสมอ โดยเริ่มต้นช้าๆ และพยายามมากขึ้นเรื่อยๆ
- ควรออกกำลังกายด้วยความหนักระดับปานกลางอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือความหนักระดับสูงอย่างน้อย 75 นาทีต่อสัปดาห์ และพยายามออกกำลังกายติดต่อกันอย่างน้อย 10 นาที หลายๆ ครั้งต่อสัปดาห์
- ควรจะออกกกำลังกายแบบมีแรงต้านและยืดเหยียด อย่างละ 2 วันต่อสัปดาห์
ประโยชน์ของการออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคมะเร็ง
- ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต ผู้ป่วยมะเร็ง เช่น ลดความกังวล ความเครียด และโรคซึมเศร้าได้
- ช่วยเพิ่มความมั่นใจให้ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ให้รู้สึกดีกับตัวเองมากขึ้นได้
- ช่วยลดผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็ง เช่น อาการอ่อนเพลีย อาการปวด และอาการกล้ามเนื้อฝ่อลีบได้
- อาจช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิต ในผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมได้
- อาจช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตและลดการกลับมาเป็นซ้ำของโรคมะเร็ง ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ได้
เทคนิค 5 ขั้นตอนสู่การเริ่มต้นการออกกำลังกายในชีวิตประจำวัน
- มีเหตุผลที่ชัดเจน ว่าทำไมถึงอยากออกกำลังกาย และทบทวนบ่อยๆ
- ตั้งเป้าหมายแรก ให้เป็นเป้าหมายที่ทำได้ง่าย ทำได้จริง เพื่อกำลังใจในการพัฒนาสู่เป้าหมายต่อไป
- มองหากิจกรรมที่ช่วยเพิ่มการออกกำลังกายในวิถีของชีวิตประจำวัน เพื่อจะได้ทำได้ทุกวัน
- พยายามอยู่ในกลุ่มเพื่อนที่รักการออกกำลังกาย อยู่ในบรรยากาศของความกระปรี้กระเปร่า
- ค่อยๆ เพิ่มการออกกกำลังกายทีละเล็กน้อย ตามกำลังของตนเอง จะทำให้ออกกำลังกายได้สม่ำเสมอมากกว่า
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่รู้สึกไม่ค่อยอยากเริ่มออกกำลังกาย
- เลือกชนิดการออกกำลังกายที่ชอบ จะทำให้สามารถออกกำลังกายได้สม่ำเสมอ แต่ควรสับเปลี่ยนชนิดออกกำลังกายบ้าง เพื่อไม่ให้ซ้ำซากจำเจ
- ฟังเพลงที่ชอบระหว่างการออกกำลังกาย ทำให้มีความสุขกับการออกกำลังกายมากขึ้น
- มีเพื่อนร่วมออกกำลังกาย จะทำให้ออกกำลังกายได้สม่ำเสมอมากขึ้น
- เลือกออกกำลังกายในช่วงที่รู้สึกสดชื่นมากที่สุดของวัน โดยเริ่มออกกำลังกายเบาๆ ช่วงสั้นๆ ก่อนในช่วงแรก
- จดบันทึกการออกกำลังกายในแต่ละวัน จะทำให้มีแรงจูงใจมากขึ้นในการออกกำลังกาย
- ควรพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6 - 8 ชั่วโมงต่อวัน และควรดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม
การออกกำลังกายให้ได้ผลดีและไม่เกิดการบาดเจ็บควรปรึกษาแพทย์ นักกายภาพบำบัด หรือผู้ชำนาญการทางด้านการออกกำลังกายก่อนเสมอ จะช่วยให้มีสุขภาพที่แข็งแรงและลดความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้จากการออกกำลังกายที่ไม่ถูกต้อง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
สถานที่ตั้ง : ชั้น 2 ตึก A
วันเวลาทำการ : เปิดบริการทุกวัน เวลา 08:00 – 20:00 น.
วันเวลาทำการ : เปิดบริการทุกวัน เวลา 08:00 – 20:00 น.
- 0-3892-1880
- [email protected]
แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง
