มะเร็งผิวหนัง มะเร็งไฝ คืออะไร แยกให้ออก พร้อมรักษา โดย โรงพยาบาลกรุงเทพระยอง

มะเร็งผิวหนัง มะเร็งไฝ 

สังเกตให้ดี แยกให้ออก พร้อมรักษา

มะเร็งผิวหนัง มะเร็งไฝ สามารถรักษาได้ หากตรวจพบเร็ว ดังนั้น การตรวจคัดกรองวิธีที่ง่ายที่สุด คือ การสังเกตความผิดปกติของร่างกายตนเอง โดยเฉพาะโรคมะเร็งผิวหนัง สามารถสังเกตได้จากจุดตามร่างกาย สภาพผิวหนังที่เปลี่ยนแปลงไป มีไฝที่ผิดปกติ รวมถึงสภาพภายในร่างกายด้วยเช่นกัน ดังนั้น หากพบอาการน่าสงสัย อาการบ่งชี้เป็นโรคมะเร็งผิวหนัง รีบเข้าพบแพทย์เพื่อรักษาทันที

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

  1. โรคมะเร็งผิวหนัง คือมะเร็งอะไร
  2. อาการโรคมะเร็งผิวหนัง
  3. วิธีสังเกตความแตกต่างระหว่างไฝธรรมดา และมะเร็งไฝ (ABCDE )
  4. ปัจจัยเสี่ยง หรือข้อบ่งชี้ก่อเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง
  5. การวินิจฉัยมะเร็งผิวหนัง
  6. วิธีการรักษาโรคมะเร็งผิวหนัง

โรคมะเร็งผิวหนัง คือมะเร็งอะไร

  • มะเร็งไฝ (Malignant melanoma) คือ มะเร็งผิวหนัง ชนิดหนึ่ง เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์สร้างเม็ดสี (Melanocyte) มีการแบ่งตัวมากผิดปกติ มะเร็งไฝ พบได้น้อยกว่ามะเร็งผิวหนังชนิดอื่นๆ
  • แต่มีความรุนแรงมาก เนื่องจากสามารถแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง และอวัยวะอื่นในร่างกาย เช่น ปอด ตับ สมอง และกระดูก หากตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มแรกสามารถรักษาให้หายขาดได้

อาการโรคมะเร็งผิวหนัง

  • มักพบในผู้ป่วยอายุระหว่าง 50-70 ปี มะเร็งผิวหนังชนิดนี้พบบริเวณใดบนร่างกายก็ได้ แต่มักพบบนผิวหนังบริเวณที่สัมผัสแสงแดดบ่อยๆ เช่น ใบหน้า หน้าอก หลังส่วนบน แขน และหน้าแข้ง
  • ลักษณะที่พบบ่อย ได้แก่ ก้อน หรือตุ๋มที่มีสีดำเข้ม แต่สามารถพบสีอื่นๆ เช่น สีดำ น้ำตาล แดง ฟ้า และเทาพบก้อนเดียวกันได้ รอยโรคอาจเป็นแผลที่ไม่หายเอง ภายใน 1 เดือน หรือมีเลือดออกบนก้อน

วิธีสังเกตความแตกต่างระหว่างไฝธรรมดา และมะเร็งไฝ

สามารถทำได้ตามหลัก ABCDE ดังนี้

  1. Asymmetry รอยโรคมีลักษณะไม่สมมาตรกัน
  2. Border มีขอบเขตไม่ชัดเจน
  3. Color มีสีดำเข้ม หรือมีหลายสีปนกันในก้อนเดียวกัน
  4. Diameter มีขนาดใหญ่กว่า 6 มิลลิเมตร
  5. Evolution มีขนาดโตขึ้นอย่างรวดเร็วใน 3 เดือน

หากพบข้อใดข้อหนึ่งตามหลัก ABCDE ควรมาพบแพทย์ผิวหนังเพื่อตรวจประเมิน และรักษาในลำดับถัดไป

ปัจจัยเสี่ยงโรคมะเร็งผิวหนัง

  1. อายุมากกว่า 60 ปี
  2. ประวัติผิวหนังไหม้แดดในวัยเด็ก หรือประวัติสัมผัสแสงแดดมานาน
  3. ผู้ที่มีผิวขาว ผมทองตาฟ้า หรือผมแดงตาสีเขียว
  4. ผู้ที่เคยเป็นมะเร็งผิวหนังมาก่อน
  5. ประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งผิวหนัง
  6. ประวัติปลูกถ่ายอวัยวะ
  7. ผู้ป่วยรับประทานยากดภูมิคุ้มกัน
  8. ผู้ป่วยโรคติดเชื้อ HIV

การวินิจฉัยโรคมะเร็งผิวหนัง

การวินิจฉัยมะเร็งชนิดนี้ แพทย์จะทำการตรวจร่างกาย หากพบรอยโรคที่สงสัยมะเร็งไฝ แพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อบางส่วนบนรอยโรค(Skin biopsy) เพื่อยืนยันผลการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยา

การรักษาโรคมะเร็งผิวหนัง

การรักษาโรคมะเร็งผิวหนัง  ขึ้นอยู่กับระยะของโรค หากเป็นระยะแรกๆ สามารถให้การรักษาได้ด้วยการผ่าตัดเพียงอย่าง หากรอยโรคอยู่ในระยะลุกลาม อาจจำเป็นต้องให้การรักษาหลายวิธีร่วมกัน เช่น การผ่าตัด การฉายรังสี และการให้ยาบำบัด ปรึกษาหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ศูนย์ผิวพรรณ์ราชาวดี โรงพยาบาลกรุงเทพระยอง 

 

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

0
    0
    ตะกร้าสินค้าของคุณ
    ไม่มีสินค้าในตะกร้ากลับไปหน้าซื้อสินค้า