Heart

General Information

  • โรคหัวใจ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ปัจจุบันผู้ป่วยโรคหัวใจมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากแต่ก่อน เนื่องจากปัจจัยต่างๆที่มีผลกระทบทำให้หัวใจผิดปกติ โรคหัวใจแบ่งได้ 2 ประเภท ไม่ว่าจะเป็น ปัจจัยแรก คือ ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ เช่น ปัจจัยทางพันธุกรรม มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ อายุเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดหัวใจ 
  • ปัจจัยที่ 2 คือ ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ มักเกิดการพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง เกิดจากปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยก็สามารถทำให้เป็นโรคหัวใจได้ เช่น น้ำหนักเกินและอ้วน ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ การสูบบุรี่ เป็นต้น 
  • ศูนย์โรคหัวใจให้บริการเฉพาะทางกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด คัดกรอง วินิจฉัย ตรวจรักษาพยาบาล ในภาวะฉุกเฉิน วิกฤติ เรื้อรังและทั่วไป ป้องกันส่งเสริมและฟื้นฟูโดยบุคลากร ทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีศักยภาพ ด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องภายใต้มาตรฐานสากล และเครื่องมือเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีการประสานงาน ส่งต่อการดูแลในเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพ
  • เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัย สามารถกลับไปดำรงชีวิตได้เหมาะสมตามสภาวะของโรค และเกิดความพึงพอใจสูงสุด ศูนย์โรคหัวใจ เปิดให้บริการตรวจรักษา พยาบาลผู้ป่วยนอกกลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด อายุมากกว่า 15 ปี โดยแพทย์เฉพาะทาง ในระดับทุติยภูมิ  เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 07.00 –20.00 น.
 

ศักยภาพการดูแล ศูนย์โรคหัวใจ

  • บริการให้คำปรึกษา การตรวจสุขภาพ ตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องมือพิเศษทางระบบหัวใจและหลอดเลือดแก่แผนกต่างๆ ในโรงพยาบาล รวมถึงการรับส่งต่อจากคลินิกภายนอก และโรงพยาบาลใกล้เคียง โดยอายุรแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจและหลอดเลือด

บริการของศูนย์โรคหัวใจ

การตรวจด้วยเครื่องมือที่ใช้ในการวินิจฉัยโรคหัวใจ

  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG  (Electrocardiogram) คือการตรวจความสมบูรณ์ของการทำงานไฟฟ้าหัวใจ เพื่อตรวจหาความผิดปกติ ที่อาจจะเกิดขึ้น หรือได้เกิดขึ้นไปแล้ว ซึ่งการตรวจหัวใจแบบ EKG นั้นสามารถนำไปเป็นส่วนหนึ่งในการวินิจฉัยโรคต่าง ๆ ที่มีผลต่อหัวใจได้

ECHO

  • การอัลตราซาวด์หัวใจ (Echocardiogram) ตรวจเพื่อดูความผิดปกติของหัวใจตั้งแต่ชั้นเยื่อบุหัวใจ ลิ้นหัวใจ หลอดเลือดหัวใจ ขนาดของหัวใจทั้ง 4 ห้อง วัดการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ หรือตรวจดูผนังกั้นห้องหัวใจว่ามีรูรั่วหรือไม่ โดยใช้หลักการของคลื่นเสียงสะท้อน แล้วนำคลื่นเสียงนั้นมาแปรเป็นสัญญาณภาพของหัวใจแบบ 2  มิติ  เพื่อวินิจฉัยสำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ เช่น อาการใจสั่น หัวใจเต้นผิดปกติ หน้ามืดเป็นลมบ่อยเป็นต้น เป็นการตรวจที่สามารถใช้ได้กับคนทั่วไปโดยไม่มีข้อจำกัด  เนื่องจากไม่ทำให้เจ็บปวดและสามารถใช้ตรวจกับคนเดินไม่ได้หรือผู้ป่วยหนัก

EST  (Exercise stress test)

  • การตรวจสมรรถภาพของหัวใจขณะออกกำลังกาย การทดสอบนี้มุ่งเน้นการตรวจหา  ภาวะ  หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบหรือขาดเลือดเป็นสำคัญ หรือ อาจใช้ตรวจหาการเต้น ผิดจังหวะของหัวใจที่เกิดร่วม กับการออกกำลังกายอีกด้วย การทดสอบชนิดนี้ใช้ในการวิจัยแยกโรคในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก หลักการคือ ให้ผู้ป่วยหรือผู้ที่ต้องการตรวจ ออกกำลังกายโดยการเดินบนสายพานที่เคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ เมื่อออกกำลังกายหัวใจจะเต้นเร็วขึ้น  ซึ่งจำเป็นต้องได้รับเลือดมาเลี้ยงมากขึ้นด้วย  หากมีหลอดเลือดหัวใจตีบ เลือดจะไม่สามารถ เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้เพียงพอ จะเกิดอาการแน่นหน้าอก และมีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจให้เห็น

Holter

  • การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง (Holter Monitoring) การตรวจวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อาจจะมีปัญหาใจสั่นผิดปกติเป็นครั้งคราว หน้ามือคล้ายจะเป็นลมอยู่เสมอ เวียนศีรษะ ใจเต้นเร็วผิดปกติเป็นประจำ แต่บางครั้งขณะมาพบแพทย์อาการดังกล่าว ก็ไม่สามารถตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) ขณะที่ไม่มีอาการปกติ ทำให้ไม่ทราบว่าอาการใจสั่นเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่

CTA Coronary

  • การตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Coronary CT Angiography)   เป็นวิธีการตรวจหัวใจ   เพื่อดูเส้นเลือดของหัวใจว่ามีหลอดเลือดหัวใจตีบ-ตัน หรือความผิดปกติอื่นๆ ของหลอดเลือดหัวใจบ้างหรือไม่ รวมถึงใช้ติดตามผลการรักษาภายหลังการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งผู้ที่เข้ารับการตรวจวิธีนี้จะได้รับสารทึบรังสีเพื่อให้ได้ภาพเอกซเรย์เส้นเลือดที่ดีที่สุด

Service Highlights

  • การตรวจการทำงานของหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
  • การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังกาย
  • การตรวจบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง
  • โรคดันโลหิต, ภาวะไขมันในเลือดสูง
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  • โรคหัวใจล้มเหลว
  • โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

วิ่งสายพานตรวจหัวใจ Exercise Stress Test (EST)

  • การตรวจ EST คือ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกายเพื่อตรวจสอบว่าขณะที่ร่างกายต้องออกแรงอย่างหนักอยู่นั้น กล้ามเนื้อหัวใจได้รับเลือดและออกซิเจนมาหล่อเลี้ยงเพียงพอหรือไม่ ซึ่งแพทย์จะประเมินสมรรถภาพของหัวใจได้ สามารถคัดกรองโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันในเบื้องต้น และยังสามารถตรวจภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจากการออกกำลังกายนอกจากนี้ยังสามารถประเมินสมรรถภาพของร่างกายได้ ซึ่งการตรวจแบบนี้จะให้ผลที่ละเอียดกว่าการตรวจด้วยคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพียงอย่างเดียว

ใครบ้างควรเข้ารับการตรวจ

  • ผู้ที่เคยมีอาการเจ็บหน้าอกมาก่อน โดยไม่ทราบสาเหตุว่ามาจากหัวใจ หรืออวัยวะอื่น เมื่อวิ่งสายพานแล้วเกิดอาการเจ็บหน้าอกขึ้น พร้อมกับมีการเปลี่ยนแปลงของกราฟหัวใจ การตรวจนี้จะช่วยบอกได้ว่าเกิดจากการตีบของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจหรือไม่

สามารถตรวจโรคหัวใจอะไรบ้าง

  • โรคหลอดเลือดหัวใจตีบในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอก
  • โรคหัวใจเจ้นผิดจังหวะที่เกิดร่วมกับการออกกำลังกาย
  • ตรวจสมรรถภาพหัวใจในนักกีฬา
  • ใช้ประเมินหัวใจผู้ป่วยก่อนการผ่าตัดบางชนิดโดยเฉพาะผ่าตัดใหญ่
  • ใช้ติดตามผู้ป่วยหลังการรักษาโรคหัวใจบางชนิด

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง

  1. ชาย อายุ>45ปี
  2. หญิง อายุ>55ปี
  3. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
  4. มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ,หลอดเลือดสมองตีบ,เบาหวาน
  5. ระดับ LDL คอเลสเตอรอลในเลือดสูง < 130 mg/dl
    หรือระดับไขมัน HDL < 40 mg/dl
  6. ผู้สูบบุหรี่

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

ติดต่อแผนกอายุรกรรมโรคไต
สถานที่ตั้ง            : ชั้น 1 ตึก A
วันเวลาทำการ      : เปิดบริการทุกวัน 08.00-20.00 น.

วิดิโอที่เกี่ยวข้อง

0
    0
    ตะกร้าสินค้าของคุณ
    ไม่มีสินค้าในตะกร้ากลับไปหน้าซื้อสินค้า